วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรม ชุมชนเข้มแข็งร่วมแรง ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๕๕



บทคัดย่อ
นวัตกรรมชุมชนเข้มแข็งร่วมแรง ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง    เป็นนวัตกรรมในลักษณะ
ที่เป็นกระบวนการของการพัฒนา    โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ได้แก่การร่วมกันค้นปัญหา  การวางแผน   การตัดสินใจ   การระดมทรัพยากรและเทคโนโลยี่ท้องถิ่น  การบริหารจัดการ  การติดตามประเมินผล  รวมทั้งรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรม      มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้  สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมใน รพ. สต.   เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กลุ่มต่างๆ    สร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล  และ  พัฒนานวัตกรรมตำบล  ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
                จากการดำเนินงาน  นวัตกรรมชุมชนเข้มแข็งร่วมแรง ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ปีงบประมาณ  ๒๕๕๕        ได้ดำเนินการครอบคลุม ๔ โครงการย่อยดังนี้ คือ  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล   ได้ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ  โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลพร้อมกับการสร้างวิทยากรฯ แก่ ผู้นำชุมชน และ อสม. คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล     มีผู้เข้าร่วมโครงการ  คิดเป็นร้อยละ  ๙๔.๔๙     โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง        ได้ดำเนินกิจกรรมคัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายโรคเบาหวาน   โรคความดันโลหิตสูง    คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  ได้รับการรักษา   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐      กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม   คิดเป็นร้อยละ  ๖๖.๖๗   กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมกิจกรรม  มีพฤติกรรมดีขึ้น  คิดเป็นร้อยละ   ๒๐.๖๔    และ  ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย    คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  ( CQI )   ที่รับการรักษาพยาบาลที่ รพ.สต.  ได้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง     ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี  คิดเป็นร้อยละ  ๙๕.๐๐   ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา และเข้าร่วมกิจกรรม Self  Health  Group  คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐และโครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล  ได้ดำเนินกิจกรรมคัดเลือกบุคคลสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติด้านสุขภาพระดับตำบลครอบคลุมทั้ง ๕ หมู่บ้าน   คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ 
จากการดำเนินโครงการ  พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนมาก ถึงแม้นว่าจะได้รับเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่จะมีปริมาณน้อยที่มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น   ฉะนั้นควรส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และตระหนักในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ  ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง  และยั่งยืน
                                                                  ปราดี  พิทักษ์   รพ.สต. สามอ่าง  อ.ระโนด



นวัตกรรม ชุมชนเข้มแข็งร่วมแรง ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ปีงบประมาณ  ๒๕๕๕
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านสามอ่าง  ตำบลตะเครียะ  อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา

ผู้นิพนธ์   : นางปราดี   พิทักษ์   และคณะเครือข่ายสุขภาพ  รพ.สต. สามอ่าง   ๐๗๔ - ๕๘๘๖๒๙
การศึกษา : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่ 

บทนำ
จากข้อมูลของ ตำบลตะเครียะ  พบว่า   ในปี พ.ศ.  ๒๕๕๒ - ๒๕๕๔     อัตราป่วยโรคเบาหวาน  เท่ากับ  ,๘๓๓.๙๙   ,๐๕๘.๙๙  และ  ,๒๖๕.๙๙      ต่อแสนประชากร  ตามลำดับ  และ      มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน   โรคความดันโลหิตสูง    ในปี   พ.ศ.    ๒๕๕๒  -  ๒๕๕๔      เท่ากับ  ๑๑,๔๙๐    ๑๘,๒๒๔     ๒๑,๔๗๐    ต่อแสนประชากร    ตามลำดับ     มีแนวโน้มสูงขึ้น
(รพ.สต.สามอ่าง,๒๕๕๔)     
ภาคีเครือข่ายตำบลตะเครียะ ได้เห็นความสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรัง (เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง)  จึงได้ร่วมมือกันจัดทำ นวัตกรรม ชุมชนเข้มแข็งร่วมแรง ลดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  โดยสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ รพ.สต.  สามารถนำปัญหาจากบริบทพื้นที่มาวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความร่วมมือในการสร้างสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง (เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง) ในอนาคต

วัตถุประสงค์
. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ
.  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้  ในกลุ่มเป้าหมายโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
.  เพื่อพัฒนา นวัตกรรมตำบลด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
.  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล

กลุ่มเป้าหมาย
                ผู้นำชุมชน   อสม.    คณะกรรมการพัฒนา  รพ.สต.      จำนวน    ๑๒๗   คน                           ประชาชน อายุ      ๓๕  ปี ขึ้นไป                                      จำนวน  ,๕๙๔  คน
                ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง        จำนวน   ๘๕๙   คน
                ผู้ป่วยโรคเบาหวาน                                                                             จำนวน      ๖๘   ราย
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง                                                              จำนวน    ๒๔๙  ราย
ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงาน
ขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานนวัตกรรม  ประกอบด้วยโครงการย่อย ๔โครงการ ดังนี้

๑. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ โดยการสร้างและใช้  แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล โดยมีกิจกรรมดังนี้
                .๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลพร้อมกับการสร้างวิทยากรฯ แก่ ผู้นำชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในตำบล 
.  อบรม  อสม. ผู้นำชุมชน เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเป็นครู ค ในการจัดกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง 
                . ติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลให้เกิดเป็นรูปธรรม  เกิดแผนสุขภาพตำบล  เกิดมาตรการทางสังคม
                .  แผนสุขภาพตำบล  และมาตรการทางสังคม  นำไปสู่การปฏิบัติ

๒. โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง    โดยจัดให้มีกิจกรรม
                . อสม. ผู้นำชุมชน ร่วมสำรวจและจัดทำ กลุ่มเป้าหมายต่างๆของโครงการ
                .  อสม. ผู้นำชุมชน ร่วมรณรงค์คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย         ครอบคลุมทุก หมู่บ้าน               
. จัดกิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในประชากรกลุ่มเสี่ยง   สัปดาห์ละครั้ง
                .๔ ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  

.  โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ( CQI ) ที่รักษาที่ รพ.สต.  ดังนี้ 
. กิจกรรมในคลินิกเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ใน รพ.สต.  
(๑) ตรวจร่างกายพื้นฐานตามพยาธิสภาพโรค
(๒)  เจาะเลือดนำส่ง รพ. เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี  
                        (๓)  ส่งเสริมความรู้  โดยทีม สหสาขา  
                        (๔)  ฝึกปฏิบัติในการออกกำลังกายโดยเจ้าหน้าที่
                        (๕)  ให้สุขศึกษารายบุคคลในรายที่มีปัญหาซับซ้อน 
(๖)  ผู้ป่วยรายใหม่  ส่งพบแพทย์


.  กิจกรรม Self Help Group ใน รพ.สต.
(๑)  จัดกิจกรรม Self Help Group ใน รพ.สต. เดือนละ ๒ ครั้ง
         (๒) กิจกรรม Self Help Group โดยครู อสม. ตั้งแต่สร้างสัมพันธภาพในกลุ่มและร่วม
         แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ค้นหาปัญหาโดยทุกคนมีส่วนร่วม ในการค้นหาปัญหาและ  
        แนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
         (๓)ส่งเสริมความรู้เพิ่มเติมส่วนขาดโดยทีมสหวิชาชีพ(พยาบาล,นักกายภาพบำบัด
                                ,นักโภชนากร, เภสัชกร)
          (๔)  มีการนัดหมายเพื่อติดตามประเมินผล
              . กิจกรรมในชุมชน
                    (๑) ประชุม อสม. และเจ้าหน้าที่ เดือนละ ๑  ครั้ง
   (๒) มีระบบคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในชุมชนโดย อสม.
         ผู้นำชุมชน ร่วมกับ เจ้าหน้าที่  ปีละ ๑ ครั้ง
                    (๓) ติดตามเยี่ยมบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน
                    (๔) การประเมินผลผู้ป่วยเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง 
         . กิจกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
                  (๑)  รับ Case จาก รพ. ระโนด
                  (๒)  ประชุมทีม  ศึกษา Case
                  (๓) ติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้าน  โดยมีกิจกรรม การประเมินความรู้ตามปัญหา เช่น   
                      อาหาร, ยา, กายภาพ, ความรู้ทั่วไป  การดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ทาง 
                      การแพทย์   เช่น สายสวนปัสสาวะ, NG Tube, ท่อหลอดลมคอและอื่น ๆ     
              (๔)  ติดตามประเมินผลตาม เป็นระยะ
              (๕)  ส่งต่อแพทย์ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน

                .  โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล
จัดเวทีเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุม ทั้ง ๕ หมู่บ้านโดยคัดเลือกบุคคลสมควรได้รับการเชิดชูเกียรติด้านสุขภาพระดับหมู่บ้านๆละ ๑ คน   รวมจำนวน  ๕ คน





ผลการดำเนินงาน
จากผลการดำเนินสามารถนำมาสรุป ผลผลิต  ผลลัพธ์  โดยจำแนกตามโครงการ  ดังนี้
ตาราง ๑. ผลผลิต  ผลลัพธ์ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ  การพัฒนาเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ    
              โดยการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล (SRM)

เป้าหมาย
ผลผลิต (output)
ผลลัพธ์ (outcome)
เชิงปริมาณ
ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ   ผู้นำชุมชน  อสม.  และคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
จำนวน ๑๒๗  คน

ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยคณะกรรมการกองทุนสุขภาพ   ผู้นำชุมชน อสม.  และ คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน  ๑๒๐ คน
คิดเป็นร้อยละ  ๙๔.๔๙

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินงานสุขภาพระดับตำบลได้
. ได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนชุมชน   และแผนพัฒนาสุขภาพตำบลให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น             
๔. ตำบลเกิดแผนพัฒนาสุขภาพ และมาตรการทางสังคม โดยชุมชน
เชิงคุณภาพ
๑. มีกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ๒. เป็นวิทยากรกระบวนการการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ระดับตำบลได้
. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนและพัฒนาสุขภาพตำบล
๔. เกิดแผนพัฒนาสุขภาพ โดยชุมชนเอง

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานสุขภาพระดับตำบลได้
. ได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำไปปรับแผนชุมชนและแผนพัฒนาสุขภาพตำบลให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
๔. ตำบลเกิดแผนพัฒนาสุขภาพ


ตาราง ๒.  ผลผลิต  ผลลัพธ์ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 

เป้าหมาย
ผลผลิต (output)
ผลลัพธ์ (outcome)
เชิงปริมาณ
กลุ่มเป้าหมายโครงการ จำนวน  ,๕๙๔ คน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
จำนวน ๑,๕๙๔ คน ร้อยละ ๑๐๐.๐๐


กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงได้ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา
ทั้ง ๓ กลุ่มมีความรู้และทักษะสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพในการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้

เชิงคุณภาพ
 .ประชากรได้รับการตรวจ
    คัดกรอง ร้อยละ ๘๐
 .ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๖๐
.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น ร้อยละ ๒๐
 .กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา
ร้อยละ๑๐๐
. ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย  
ร้อยละ ๘๐

 .ประชากรได้รับการตรวจ
คัดกรอง   ร้อยละ ๑๐๐.๐๐
 .ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ ๖๖.๖๗ 
.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูงร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น ร้อยละ ๒๐.๖๔
.กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษา
    ร้อยละ ๑๐๐
. ให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
  ร้อยละ ๑๐๐





ตาราง ๓. ผลผลิต ผลลัพธ์โครงการ พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  CQI) 

เป้าหมาย
ผลผลิต (output)
ผลลัพธ์ (outcome)
เชิงปริมาณ
.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี  ร้อยละ ๕๐.๐๐
.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา  ร้อยละ ๑๐๐.๐๐
. จัดกิจกรรม Self Health Group ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง   ร้อยละ ๖๐
๔. เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง   ลดลง ร้อยละ ๕
. ติดตามเยี่ยมบ้าน  ร้อยละ ๑๐๐

. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ร้อยละ  ๙๕.๐๐
.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
ร้อยละ ๑๐๐.๐๐  
. จัดกิจกรรม Self Health Groupผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ ๑๐๐.๐๐
๔. เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง   ลดลง ร้อยละ ๖.๓๑
. ติดตามเยี่ยมบ้าน   ร้อยละ ๑๐๐

.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ค้นหาความผิดปกติ หรือโรคแทรกซ้อน เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
. ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิตได้ดีขึ้น ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

เชิงคุณภาพ
. ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด
.ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมควบคุมระดับน้ำตาล ระดับความดันโลหิต  ได้ดีขึ้น
.ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 
. กลุ่มSelf Health Group มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

. ผู้ป่วยกลุ่ม Self Health Group เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มครบตามนัด
.  ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิต  ได้ดีขึ้นลดการเกิด ภาวะแทรกซ้อน
. ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 
.  กลุ่ม Self Health Group มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

ตาราง ๔. ผลผลิต  ผลลัพธ์โครงการเชิดชูเกียรติแก่ทีมงานสุขภาพระดับตำบล

เป้าหมาย
ผลผลิต (output)
ผลลัพธ์ (outcome)
เชิงปริมาณ
กลุ่มเป้าหมายโครงการ
จำนวน ๕ คน/จาก ๕ หมู่บ้าน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจริงได้รับการคัดเลือก จำนวน ๕ คน/๕ หมู่บ้าน

คณะกรรมการพัฒนา    รพ.สต.  อสม. ผู้นำชุมชน ได้รับการ
เชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบลสร้างความภาคภูมิใจและขวัญกำลังใจในการดำเนินงาน และเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนต่อไป




เชิงคุณภาพ
คณะกรรมการพัฒนารพ.สต.อสม. ผู้นำชุมชน ได้รับการ
เชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุมทั้ง ๕  หมู่บ้าน

คณะกรรมการพัฒนา  รพ.สต. อสม.
ผู้นำชุมชน ได้รับการเชิดชูเกียรติผลงานด้านสุขภาพระดับตำบล ครอบคลุม
ทั้ง    หมู่บ้าน


สรุปผลลัพธ์ของการพัฒนานวัตกรรม  กระบวนการมีส่วนร่วม
ผลสำเร็จของการพัฒนา นวัตกรรม กระบวนการมีส่วนร่วม  ส่งผลความสามารถในการจัดการสุขภาพ  สามารถสรุปผลสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  ได้ ดังนี้
                 ๑. ประชาชนเข้าใจปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงกับบริบทสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่
                ๒. ภาคีเครือข่ายร่วม ผลักดันนโยบาย  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลดการเกิดโรคในชุมชนได้
                 ๓.  การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเป็นรูปธรรม  สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่
๔.     มีระบบสนับสนุนระดับตำบลที่ชัดเจน  เช่นด้านข้อมูล  ด้านสื่อ ด้านงบประมาณ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
๑.       ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาสุขภาพในระดับท้องถิ่น 
๒.     ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการได้รับข่าวสารด้านสุขภาพ                                                                                                          
๓.     ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมสุขภาพของชุมชน  สามารถแสดง
                     ความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในระดับพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น